วันนี้เราก็จะมาติดตามประเด็นข่าว คลื่นความร้อนถล่ม เอเชียใต้ ร้อนๆแบบนี้จะแก้ยังไง ในช่วงรอยต่อระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม หลายพื้นที่ของเอเชียก็ยังเจออากาศร้อนจัดอยู่ โดยเฉพาะในเอเชียใต้ กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามคำเตือนขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หรือ WMO นะคะ

ที่เคยบอกเอาไว้ก่อนหน้านี้ว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของเอเชียนั้น เพิ่มสูงขึ้นมากกว่า ค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิทั้งโลกค่ะ แต่ก่อนที่เราจะไปติดตามความน่าสนใจนี้ แอดมินก็ต้องขอฝากให้ไปติดตาม ศาลยุโรปเอาจริง กันด้วยนะคะ แล้วในวันนี้ แอดมินก็ต้องขอขอบคุณ แทงบอล ที่สนับสนุนบทความของเราในวันนี้ด้วยค่ะ

คลื่นความร้อนถล่ม เอเชียใต้ ร้อนๆแบบนี้จะแก้ยังไง

ดังนั้นณเวลานี้หลายประเทศต้องมีการออกมาตรการเพื่อดูแลสุขภาพของประชาชนในประเทศตัวเองนะคะ ไล่เลียงไปดูตั้งแต่เอเชีย ณ เวลานี้ มีประเทศไหนบ้าง กำลังเผชิญกับอากาศที่ร้อนจัด โดยเฉพาะเอเชียใต้ กับอาเซียนที่เราอยู่ค่ะ เริ่มต้นจากเอเชียใต้ ก่อนอย่างทางอินเดียค่ะ ปรากฏว่าพื้นที่ซึ่งเจอกับอากาศร้อนจัดของอินเดียนั้น ส่วนใหญ่จะมาอยู่ทางฝั่งตะวันออก กับทางภาคใต้ค่ะ

แน่นอนค่ะว่าอุณหภูมิโดยเฉลี่ย 40 องศาเซลเซียส ก็ถือว่าน้อยแล้วค่ะ แต่ว่าหลายพื้นที่อุณหภูมิพุ่งเกิน 40 องศาเซลเซียส แต่ถ้าไปดูฝั่งตะวันตกอย่างทางเมืองมุมไบ อุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 38 องศาเซลเซียส แล้วถ้าไปดูเพื่อนบ้านของอินเดีย อย่างบังคลาเทศบ้างค่ะ บังคลาเทศก่อนหน้านี้ ถ้าจำกันได้เพิ่งจะรายงานไป เมื่อสัปดาห์ก่อน ทางการบังคลาเทศ เค้าปิดการเรียนการสอนนะคะ เพื่อไม่ให้เด็กๆรวมไปถึงคุณครู

ต้องไปเจออากาศที่ร้อนจัด ในขณะที่เรียนหนังสือ ปรากฏว่าพอมาสัปดาห์นี้ ก็มีการปิดการเรียนการสอนต่ออีกค่ะ เพราะอุณหภูมิยังไม่ได้ลดลง แต่อย่างใดแต่ก็มีการคาดการณ์ต่อไปค่ะ เดี๋ยวพอเข้าสู่เดือนใหม่ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม ปี 67 ก็หวังว่าอุณหภูมิโดยเฉลี่ย ที่บังคลาเทศน่าจะปรับลดลงมาได้จากปกติตอนนี้ อยู่ที่ 40 กว่าองศาเซลเซียส ขยับเข้าใกล้ประเทศไทยกันหน่อยนะคะ โดยเฉพาะเพื่อนบ้านย่านอาเซียน

ของเราไปดูที่เมียนมาร์ก่อนค่ะ ปรากฏว่ามีอุณหภูมิทุกสถิติสูงสุดในประวัติศาสตร์เท่าที่ทางการเมียนมาร์เคยบันทึกเอาไว้ในรอบ 50 กว่าปี เป็นเมือง ซึ่งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ แล้วอุณหภูมิที่เขาสามารถวัดได้อยู่ที่ 48.2 องศาเซลเซียส แล้วเค้าย้ำได้ว่านี่คืออุณหภูมิไม่ใช่ดัชนีความร้อนนะคะ เพราะฉะนั้นเรียกได้ว่าร้อนขั้นสุดไปเลยค่ะ สำหรับเพื่อนบ้านของเรา หรือแม้กระทั่งเมืองใหญ่อุณหภูมิก็อยู่ประมาณซัก 

40 ต้นๆได้ ณ เวลานี้ของที่เมียนมาร์ ยังไม่พอนะคะ เพื่อนบ้านทางตอนใต้อย่างมาเลเซีย อุณหภูมิเฉลี่ย ณ เวลานี้ก็อยู่ที่ประมาณ 35 ไปจนถึง 40 องศาเซลเซียส หรือลงมามากกว่านั้น ก็คือที่ประเทศสิงคโปร์ ก็อยู่ที่ประมาณ 37 ถึง 38 องศาเซลเซียส ซึ่งก็ร้อนเหมือนกันค่ะ แต่ที่หนักที่สุด ณ เวลานี้ หนึ่งในจุดที่น่าเป็นห่วงคือประเทศฟิลิปปินส์ค่ะ เพราะว่าฟิลิปปินส์ทางการฟิลิปปินส์ถึงขนาดต้องมีการปิดการเรียนการสอน

ในระหว่างวันที่ 29 ถึง 30 เมษายน เนื่องจากเจอกับอากาศที่ร้อนจัด อย่างที่กรุงมะนิลาอุณหภูมิอยู่ที่ 38 องศาเซลเซียสบวกๆ แต่ถ้าไปดูดัชนีความร้อนปรากฏว่าอยู่ที่ 45 เลยค่ะ นั่นก็คือบวกค่าความชื้นเข้าไปด้วย แล้วตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงศึกษาธิการ ฟิลิปปินส์มีการประกาศเอาไว้นะคะ ว่าถ้าเกิดว่าพื้นที่ไหน มีอุณหภูมิเกิน 40 องศาเซลเซียส โรงเรียนต่างๆ สามารถใช้ดุลพินิจในการปรับการเรียนการสอนได้

คือเด็กๆกับคุณครูไม่ต้องมาที่โรงเรียน แต่สามารถเรียนจากที่บ้านผ่านระบบออนไลน์ได้ เนื่องจากโรงเรียนส่วนใหญ่ของฟิลิปปินส์ เค้าไม่ได้ติดแอร์ ไม่ได้มีเครื่องปรับอากาศ แต่ใช้พัดลมเนี่ยแหละค่ะ ดังนั้นถ้าเด็กไปเรียนกันส่วนใหญ่ ก็ต้องใช้ก็ต้องใช้กระดาษมาโบกพัด เพื่อลดความร้อนลงมา แล้วนี่ยังไม่นับว่าก่อนหน้านี้ พื้นที่ทางตอนเหนือของฟิลิปปินส์ ในบางที่เป็นเกาะใหญ่ เคยเจอกับดัชนีความร้อนที่บวกเข้า

กับค่าความชื้นเข้าไปเฉียดหรือว่าแตะระดับ 50 องศาด้วยนะคะ อินโดนีเซียก็ร้อนเหมือนกันค่ะ แต่ก่อนจะกลับไปดูที่ประเทศไทยของเรา ขึ้นไปดูที่ประเทศจีนก่อนค่ะ ปรากฏว่าที่ประเทศจีนด้วยพื้นที่ค่อนข้างกว้างใหญ่ไพศาล ณ เวลานี้ เจอกับอากาศที่แปรปรวนอย่างหนัก เหมือนกันอย่างที่เมืองกวางโจว ทางตอนใต้ของจีน มณฑลกวางตุ้ง ปรากฏว่าเจอกับพายุทอร์นาโดพัดถล่มค่ะ แล้วก็มีผู้เสียชีวิตถึง 5 คนด้วยกัน

แล้วก็สร้างความเสียหายให้กับโรงงานต่างๆ ประมาณ 141 แห่ง แล้วคุณผู้ชมดูจากภาพความรุนแรง ของพายุทอร์นาโด ซึ่งเกิดจากบริเวณทางตอนใต้ของประเทศจีนนั้น ได้หอบเอาความเสียหายซากต่างๆ ขึ้นสู่ท้องฟ้า แล้วก่อนหน้านี้ทางเมืองกวางโจว เมื่อสัปดาห์ก่อนเพิ่งจะเจอกับฝนตกหนัก แล้วก็มีน้ำท่วมครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ ผ่านมาหมาดๆเองนะคะ แต่ถ้าเกิดไปดูทางตอนใต้ กับตอนเหนือของจีน

ปรากฏว่าเจอภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่แตกต่างออกไปนั้น ก็คือพายุลูกเห็บกับหิมะพัดถล่มลงมาทั้งหมดนี้เกิดขึ้นช่วงเวลาที่ไล่เลี่ยกันในช่วงสองสัปดาห์นี้นี่แหละค่ะ ถ้ามาดูที่ประเทศไทยของเรา ที่ประเทศไทยของเราก็คล้ายคลึงกันกับประเทศเพื่อนบ้านนี่แหละค่ะ หลายคนบ่นว่าอากาศก็ยังคงร้อนอบอ้าว แล้วทีนี้เองคำถามที่ตามมาฤดูร้อนของไทย จะจบเมื่อไหร่ ฤดูฝนจะเริ่มต้นขึ้นได้ เมื่อไหร่แต่ขอพาไปดูตัวสถิติก่อน

ว่าในปี 2567 นี้พื้นที่ไหนจังหวัดใดของไทยที่ทำจุดสูงสุดของปีนี้เอาไว้ อันดับหนึ่งค่ะ อุณหภูมิสูงสุดของปีนี้อยู่ที่ 44.2 องศาเซลเซียส เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมา ที่อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ส่วนอันดับที่สองอุณหภูมิสูงสุดหย่อนลงมาแค่เล็กน้อยเท่านั้นอยู่ที่ 44.1 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 27 องศาเมษายน ที่อำเภอเมือง เพชรบูรณ์ค่ะ ส่วนอันดับที่สาม ก็หย่อนลงมานิดเดียวเหมือนกัน 44 องศาเซลเซียส 

เมื่อวันที่ 17 เมษายนอำเภอเมืองกาญจนบุรีและเมื่อวันที่ 28 เมษายนอำเภอเมืองลำปางอันดับที่สี่ก็ 43 .9 องศาเซลเซียสเมื่อวันที่ 29 เมษายนอำเภอเมือง เพชรบูรณ์อีกครั้งนึง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์เนี่ย ร้อนจัดหลายรอบ หลายวันเลยค่ะ เพราะฉะนั้นพ่อแม่พี่น้องดูแลสุขภาพดีๆด้วยนะคะ เช่นเดียวกับพื้นที่อื่น และอันดับที่ห้า 43.8 องศาเซลเซียสเกิดขึ้นสองวันนะคะ 23 เมษายนอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง

และ 28 เมษายนอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน กับอำเภอเมือง จังหวัดตาก แต่จุดสูงสุดของปีนี้ก็ไม่ใช่จุดสูงสุดในประวัติศาสตร์นะคะ เพราะว่าในประวัติศาสตร์ของไทยอุณหภูมิสูงสุดที่เคยมีการบันทึกเอาไว้เกิดขึ้นที่อำเภอเมือง แม่ฮ่องสอน กับอำเภอเมืองตาก เมื่อปีที่แล้วนั่นเองค่ะ

ก่อนจากกัน แอดมินก็ต้องขอฝากเว็บไซต์ ข่าวการเมือง อัพเดตทุกสถานการณ์ด้วยนะคะ