วันนี้แอดมินก็จะมาติดตามประเด็นข่าว 5 สถิติโลกร้อนสุด ดันทุกพื้นที่รุนแรง มีข้อมูลอีกด้านหนึ่งที่สอดคล้องกันจากทางด้านองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกนะคะ ที่ได้ไปสำรวจสภาพภูมิอากาศ เฉลี่ยทั่วโลก ในแต่ละปีออกมาเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูล และปรากฏว่าในช่วงปลายปีนี้นะคะ จะมีอีกหนึ่งปรากฏการณ์สลับเข้ามานั่นก็คือปรากฏการณ์ลานีญา ซึ่งปรากฏการณ์นี้นั้น ก็คงจะต้องติดตามและตรวจสอบต่อไปว่า

ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพพูมิอากาศโลกอย่างไร ซึ่งเดี๋ยวเรามาติดตามไปพร้อมกันค่ะ แต่ก่อนที่จะไป แอดมินก็ต้องขอฝากให้ไปติดตาม วิเคราะห์ชะตาอิสราเอล  กันด้วยนะคะ แล้วในวันนี้ แอดมินก็ต้องขอขอบคุณ รวยจัง ที่สนับสนุนบทความของเราในวันนี้ด้วยค่ะ

5 สถิติโลกร้อนสุด ดันทุกพื้นที่รุนแรง

ช่วงนี้เราต้องมาวิเคราะห์กันต่อ หลังจากที่ได้มีการไปเก็บข้อมูล ผ่านทางดาวเทียมนะคะ โดยทางด้านองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก แห่งสหประชาชาติ หรือว่า WNO รายงานว่า ประสบปรากฏการณ์นี้ก่อตัวขึ้นมาตั้งแต่เมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ถือได้ว่าความรุนแรง เป็นอันดับที่ 5 ในประวัติศาสตร์ แล้วก็ส่งผลมาตั้งแต่เมื่อปีก่อน กลายเป็นปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการ แล้วก็เป็นครั้งแรกด้วยนะคะ ที่ปีที่แล้ว

โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสตลอดทั้งปี แล้วจากข้อมูลอีกหน่วยงานนึง ก็คือศูนย์ให้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพพูมิอากาศของทางสหภาพยุโรป รายงานเป็นครั้งแรกค่ะว่า นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว จนถึงเดือนมกราคมปีนี้ อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกสูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับปีก่อนในยุคอุตสาหกรรม ซึ่งอุณหภูมิก็สูงขึ้นตามลำดับต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของ

สภาพภูมิอากาศโลกโดยตรง หลังจากที่นักวิทยาศาสตร์ ได้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลอุณหภูมิอากาศแบบรายวัน ในระดับเกณฑ์มาตรฐาน ก็คือวัดจาก 2 เมตร จากพื้นผิวโลกทั่วทั้งโลกค่ะ เพื่อที่จะหาค่าเฉลี่ย ทั้งพื้นที่ตอนเหนือสุด ไปจนถึงตอนใต้สุดของโลก ทั้งฝั่งตะวันออก ไล่ไปจนถึงฝั่งตะวันตกรอบโลก และหลังจากนั้นก็นำมาหาค่าเฉลี่ยให้เป็นลักษณะองศาเซลเซียส เพื่อถอดออกมาเป็นตัวเลขอุณหภูมิโลก เฉลี่ยในแต่ละวัน

ทีนี้ปัจจัยสำคัญก็คือพอมีการวิเคราะห์ตัวเลข และย้อนกลับไปดูสถิติอุณหภูมิโลก ก็พบว่าในปี 2559 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเมื่อวันที่ 13 และ 14 สิงหาคมไปอยู่ที่ 16.9 องศาเซลเซียส นี่คืออุณหภูมิเฉลี่ยของทั่วโลกนะคะ แล้วก็ถัดมาในปี 2565 วันที่ 24 กรกฎาคมอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 16.9 องศาเซลเซียส ทีนี้พอมาถึงปีที่แล้วปี 2566 อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งโลกสูงขึ้น ทำลายสถิติในรอบ 7 ปี อย่างเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม

ปี 2566 โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 17.01 องศาเซลเซียส และถัดมาเพียงแค่วันเดียว ก็คือวันที่ 4 กรกฎาคม แล้วก็อุณหภูมิสูงขึ้นอีกไปอยู่ที่ 17.18 องศาเซลเซียส เพราะฉะนั้น คือตัวเลขที่มีการถอดออกมา และมีเห็นว่านับตั้งแต่ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาอุณหภูมิของโลก ปรับตัวสูงขึ้นตามลำดับค่ะ โดยเฉพาะเมื่อปีที่แล้วที่เป็นปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการ

💥 💥 💥 💥 💥 💥 💥 💥 💥 💥 💥 💥 💥 💥 💥 💥 💥 💥 💥 💥 💥 💥 💥 💥 💥